อำเภอขุขันธ์
ประวัติเมืองขุขันธ์
อำเภอขุขันธ์ เป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับจังหวัดศรีสะเกษ เป็นอำเภอเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่มากับการตั้ง “เมืองขุขันธ์” ในอดีตมีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นอำเภอต่างๆ หลายอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน โดยก่อนปี พ.ศ 2481 ใช้นามว่า “อำเภอห้วยเหนือ” ขึ้นต่อการปกครองของเมืองขุขันธ์ ประชาชนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธและมีอาชีพทำนากันเป็นส่วนมาก
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณที่เป็นเขตจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ ในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาวกวยและเขมร ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เขมรป่าดง มีชุมชนที่สำคัญ คือ บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ซึ่งต่อมาเป็นเมืองขุขันธ์ ปีพุทธศักราช ๒๓๐๒ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พญาช้างเผือกได้แตกโรงไปอยู่รวมกับโขลงช้างป่าในเขตภูเขาพนมดงเร็ก จึงโปรดเกล้าฯให้ทหารคู้พระทัย (ทองด้วงและบุญมา) นำไพร่พลออกติดตาม โดยได้รับการช่วยเหลือจาก ตากะจะ หัวหน้ากลุ่มชนบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน และเชียงขัน ร่วมกับหัวหน้ากลุ่มชาวเขมรป่าดงที่ชำนาญการจับช้าง คือ เชียงปุ่ม แห่งบ้านเมืองที เชียงสี แห่งบ้านกุดหวาย เชียงฆะ แห่งบ้านอัจจะปะนึง และเชียงไชย แห่งบ้านจาระพัด ออกติดตามจนพบ สามารถจับพญาช้างเผือกได้ และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งนายกองหัวหน้าหมู่บ้าน และเชียงขัน เป็นหลวงปราบ ผู้ช่วย
เมืองขุขันธ์เดิมมีชาวจีนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อมีการตัดทางรถไฟผ่านเมืองศรีสะเกษ แต่ไม่ผ่านเมืองขุขันธ์ ชาวจีนเป็นจำนวนมากจึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองศรีสะเกษ ทำให้เมืองขุขันธ์ซบเซาลง แต่เมืองศรีสะเกษกลับขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดก็เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์เป็นจังหวัดศรีสะเกษ และยุบเมืองขุขันธ์เป็นอำเภอขุขันธ์ขึ้นกับศรีสะเกษ
ตาลโตนดมียอดถึง 9 ยอด และมีอายุอยู่คู่กับเจ้าเมืองถึง 9 คน เป็นต้นตาลที่มีความแปลกเพราะลำต้นเดียว แต่แตกแขนงลำต้นออกเป็น 9 แขนง 9 ยอด เคยมีชีวิตและตั้งต้นตระหง่านมาตั้งแต่กำเนิดเมืองขุขันธ์ ณ หมู่บ้านตาดม หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษได้ล้มตายลงเมื่อปี พ.ศ. 2509 ปัจจุบันยังคงเหลือแต่เพียงร่องรอยภาพถ่ายแห่งอดีตมาถึงปัจจุบัน
วัดทั้ง 4 แห่งเมืองขุขันธ์ ประกอบด้วย วัดเจ๊กโพธิพฤกษ์ วัดเขียนบูรพาราม วัดบกจันทร์นคร และวัดไทยเทพนิมิต วัดทั้ง 4 วัด เป็นวัดที่เก่าแก่มีความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของเมือง คู่กับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัดกลางอัมรินทราวาสเป็นศูนย์กลาง
ประวัติพระยาไกรภักดี ตากะจะ ผู้สร้างเมืองขุขันธ์
พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ทีชื่อเดิมว่า ตากะจะ เป็นหัวหน้าชาวเขมรป่าดงบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน
- ปี พุทธศักราช ๒๓๐๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พญาช้างเผือกแตกโรงหนีเข้าป่า ไปอยู่รวมกับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงเร็ก ตากะจะและเชียงขันธ์ พร้อมหัวหน้าชาวเขมรป่าดง รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งกัวหน้านายกองปกครองหมู่บ้าน
- ปี พุทธศักราช ๒๓๐๖ หลวงแก้วสุวรรณ นำเครื่องบรรณาการถวายพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา ความชอบครั้งนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดคกลำดวน ขึ้นเป็น เมืองขุขันธ์ โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ ให้หลวงแก้วสุววรณ เป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์
- ปี พุทธศักราช ๒๓๑๙-๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบรี โปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรี (ทองด้วง) ไปทำศึกสงครามกับเวียงจันทร์หลายครั้ง พระไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) ได้เกณฑ์กำลังไปช่วยรบอย่างเข้มแข็ง จนได้รับชัยชนะทุกครั้ง จึงโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน นับได้ว่าเป็นบรรพบุรุษผู้สร้างเมืองขุขันธ์ เป็นต้นตระกูลของเมืองขุขันธ์และได้ถึงแก่อนิจกรรมในปี พุทธศักราช ๒๓๒๑
ที่ตั้งและอาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลดู่ ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ และ ตำบลศรีสำราญ ตำบลวังหิน อำเภอวังหิน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลโนนปูน ตำบลดินแดง ตำบลไพรบึง ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโพธิ์กระสังข์ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ และ ตำบลโคกตา
- อไพรบึงล ตำบลตะเคียนราม ตำบลห้วยตึ๊กชู ตำบลละลม อำเภอภูสิงห์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด ตำบลตาคง อำเภอสังขะ ตำบลหนองแวง อำเภอศรีณรงค์ (จังหวัดสุรินทร์) และ ตำบลสมอ ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณที่เป็นเขตจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ ในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาวกวยและเขมร ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เขมรป่าดง มีชุมชนที่สำคัญ คือ บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ซึ่งต่อมาเป็นเมืองขุขันธ์ ปีพุทธศักราช ๒๓๐๒ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พญาช้างเผือกได้แตกโรงไปอยู่รวมกับโขลงช้างป่าในเขตภูเขาพนมดงเร็ก จึงโปรดเกล้าฯให้ทหารคู้พระทัย (ทองด้วงและบุญมา) นำไพร่พลออกติดตาม โดยได้รับการช่วยเหลือจาก ตากะจะ หัวหน้ากลุ่มชนบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน และเชียงขัน ร่วมกับหัวหน้ากลุ่มชาวเขมรป่าดงที่ชำนาญการจับช้าง คือ เชียงปุ่ม แห่งบ้านเมืองที เชียงสี แห่งบ้านกุดหวาย เชียงฆะ แห่งบ้านอัจจะปะนึง และเชียงไชย แห่งบ้านจาระพัด ออกติดตามจนพบ สามารถจับพญาช้างเผือกได้ และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งนายกองหัวหน้าหมู่บ้าน และเชียงขัน เป็นหลวงปราบ ผู้ช่วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น